 |
หนังสือ คู่มือการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติชุมชน ที่เกิดจากประสบการของผู้ประสบภัยที่ผ่านมา การสรุปบทเรียนครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนอ่านเข้าใจง่าย ๆ และเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติได้จริง
จัดพิมพ์เมื่อ พฤษภาคม 2560
Link : Open book
|
|
 |
หนังสือพลังชุมชนท้องถิ่น ร่วมใจสู้ภัยพิบัติ จัดทำโดย มูลนิธิชุมชนไท : Chumchonthai Foundation สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ Thai Health Promotion Foundation ความจริงภัยพิบัติในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นถี่และมากขึ้น รุนแรงขึ้น ทั้งโลก ทั้งแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม ได้เกิดขึ้นเรื่อยๆ คิดว่าธรรมชาติกำลังสั่งสอนเรา มนุษย์ได้ทำกรรมกับธรรมชาติเป็นอย่างมากมนุษย์ขูดรีดธรรมชาติได้ทุกอย่าง การเกิดพิบัติภัยที่จริงแล้วเกิดจากมนุษย์ได้ทำขึ้น
จัดพิมพ์เมื่อ ธันวาคม 2558
Link : Open book
|
|
 |
Tsunami : Waves of reform : หนังสือเล่มนี้ได้เรียบเรียงโดยผู้ที่ประสบการณ์ตรงได้คลี่ให้เห็นความดีงามของสังคมไทย สังคมโลก ความสำเร็จ ความบกพร่อง ความผิดพลาดทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้เผยให้เห็นธาตุแท้ของสังคมไทย
จัดพิมพ์เมื่อ ตุลาคม 2558
Link : Open book
|
|
โครงการศึกษาวิจัยกระบวนการยุติธรรมปัญหาและแนวทางแก้ไขกรณีคดีความเรื่องที่ดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำาความเข้าใจกับสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดของกระบวนการยุติธรรมและข้อกฎหมายเพื่อสร้างข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการยุติธรรม การปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดิน รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายร่วมกัน โดยได้ศึกษาคด
|
ปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินและทรัพยากร อยู่ในระดับวิกฤติ ซึ่งเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เนื่องจากไม่จำกัดการถือครองที่ดินและมีการทุจริตคอรัปชั่นซึ่งก่อให้เกิด "ความเหลือมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคม" การที่ที่ดินส่วนใหญ่ร้อยละ 90 กระจุกตัวอยู่ในมือคนเพียงร้อยละ 10 ของประเทศ และปล่อยที่ดินรกร้้างรอเก็งกำไรถึง 48 ล้านไร่ รวมทั้งที่ดินส่วนหนึ่งครอบครองโดยต่างชาติ ในขณะที่เกษตรกรกลับไม่มีที่ดินทำกินหรือมีไม่เพียงพอ...
|
 |
หนังสือเล่าประสบการณ์เครือข่ายชุมชนจัดการสิ่งแวดล้อม จังหวัดปทุมธานี โดยเครือข่ายสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานี เป็นการรวมกลุ่มของชุมชนที่ประสบปัญหาจากสถานการณ์และการพัฒนาชุมชนของกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่ รวมทั้งสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป พื้นที่ปทุมธานี ชุมชนบางปรอกเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่รวมตัวกันเป็นในรูปแบบเครือข่ายชุมชน
จัดพิมพ์เมื่อ เมษายน 2556
Link : Open book
|
|
 |
หนังสือ "สู้ภัย ด้วยใจ ชุมชน" คูสว่างโมเดล เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ ชุมชนเป็นด่านแรกของการปะทะกับเหตุการณ์ และการเข้าช่วยเหลือขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องย่อมมีข้อจำกัด ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของชุมชนให้สามารถรู้เท่าทันและรับมือกับภัยพิบัติได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
จัดพิมพ์เมื่อ ธันวาคม 2555
Link : Open book
|
|
วิกฤติวิถีชีวิตชาวเล : กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั่งเดิมของชายฝั่งทะเลอันดามัน ที่อาศัยหาอยู่กินกับทะเลอันดามันมาเป็นเวลานาน จากงานศึกษาวิจัยของนักวิชาการหลายท่าน รวมทั้งการร่วมกันทำผังตระกูลของชาวเล พบว่าวิถีที่สืบทอดกันมายาวนานนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ปี พูดได้ว่าคนกลุ่มนี้อาศัมาอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จัดพิมพ์เมื่อ พฤศจิกายน 2555
|
 |
“ชุมชนบานนํ้าเค็ม” อดีตของความทรงจํา เมื่อ 26 ธันวาคม 2547 บานกวา 1,000 หลังที่ถูกคลื่นยักษสึนามิ พัดถลมเสียหายไมมีแมซากปรักหักพัง กวา 1,400 คนที่เสียชีวิต เลือดเนื้อ คงเหลือเพียงคราบนํ้าตาของญาติมิตร มหันตภัยรายซัดถลมชายฝงอันดามัน 6 จังหวัดอันดามัน แลวหายไปความชวยเหลือผูประสบภัยถาโถมกระหนํ่าลงมาในพื้นที่ดั่งหาฝน เปนเหตุกอเกิดใหชุมชนบานนํ้าเค็มตั้งรับฟนฟูโดยชุมชนเปนแกน หลังแตบัดนั้น
จัดพิมพ์เมื่อ ตุลาคม 2555
Link : Open book
|
|

พรานบ้านพรานเมืองการพัฒนาภาคประชาชน เป็นการพูดถึงการพัฒนาที่ดำเนินการโดยองค์กรชุมชนในที่ต่าง ๆ ทั่้วประเทศ เป็นการสะท้อนให้เห็นแนวคิดและวิธีการจัดการของชาวชุมชนในการแ้ก้ปัญหาของพวกเขาเองให้เป็นรูปธรรม เป็นการแก้ปัญหาที่ผ่านกาพูดคุยปรึกษาหารือก่อนที่จะนำไปสู่การตัดสินใจทำและรับผิดชอบร่วมกัน
จัดพิมพ์เมื่อ กรกฎาคม 2554
|
ก้าวสู่ "เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่" ใน 12 เมือง : ทิศทางการพัฒนาประเทศที่เน้นการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ โดยได้มีการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและงานบริการให้เติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้เมืองกลายเป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ ...
|
|
 |
คนคุ้ยขยะ พลิกกองขยะให้เป็นกองทุนชุมชน จากกองขยะอ่อนนุช ปฏิวัติมุมมองจากกองขยะ ซึ่งในยุคที่ประเทศกำลังประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั่วหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจนในสังคม ขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้มูลค่านับหมื่นล้านบาทต่อปี หากนำมา หากนำมาจัดการอย่างถูกวิธีก็สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนจน
จัดพิมพ์เมื่อ กรกฎาคม 2545
Link : Open book
|
|
 |
ขยะจำนวนมหาศาล หากนำมาคัดแยกอย่างถูกวิธีโดยเฉพาะการคัดแยกจากครัวเรือน ก็จะได้ขยะที่สามารถนำไปใช้ได้ใหม่ถึงร้อยละ 40 ขยะเหล่านี้สามารถนำไปขายได้ถึงตันละ 2,500 บาท หรือวันละ 38 ล้านบาท หรือ 13,870 ล้านบาทต่อปี (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2534)
จัดพิมพ์เมื่อ มกราคม 2544
Link : Open book
|
|
 |
ทุกวันนี้ชาวบ้านชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนกำลังเผชิญกับปัญหาแผ่นดินชายฝั่งถูกกัดเซาะ ชายฝั่งบางขุนเทียนถือว่าเป็นพื้นที่วิกฤติ 1 ใน 4 แห่งของอ่าวไทยตอนบนที่มีการกัดเซาะรุนแรง และอีกปัญหาที่สำคัญคือน้ำเสีย ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อสัตว์น้ำที่อยู่ในคลองและในบ่อเลี้ยง
จัดพิมพ์เมื่อ มีนาคม 2553
Link : Open book
|
|
 |
ชุมชนบางปรอกเป็นชุมชนไทยเชื้อสายมอญ ชุมชนหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีคลองบางปรอกไหลผ่าน นับว่าเป็นชุมชนที่สมบูรณ์แบบไทยๆ ชุมชนหนึ่ง ผมได้มีโอกาสไปชุมชนนี้เมื่อสักประมาณ 3 ปีที่แล้วแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานีจะมีชุมชนที่น่าอยู่อย่างนี้ แต่เมื่อลงไปสัมผัสและร่วมทำงานกับคณะกรรมการชุมชนและชาวบ้ านก็ ยิ่งประทับใจเข้าไปอีก ที่เห็นความมุ่งมั่นของประธานชุมชน คุณฉลวย กะเหว่านาค และคณะกรรมการชุมชนทุกท่านที่จะพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
จัดพิมพ์เมื่อ มีนาคม 2553
Link : Open book
|
|
ย้อนมอง...สามชุกตลาดร้อยปี...กว่าจะถึงวันนี้ ในโอกาสรับมอบรางวัลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกชุมชนสามชุกตลาดร้อยปี (UNESCO) โครงการอนุรักษ์ชุมชนย่านตลาดเก่าสามชุกนี้ได้รับรางวัล Award of Merit เนื่องจากแผนฟื้นฟูของโครงการสามชุกนี้ได้แสดงออกถึงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและแนวทางที่แสดงถึงความร่วมมือกันของหน่วยงานท้องถิ่นจนสามารถผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจมาได้ โครงการนี้ทำให้เกิดความตระหนักในวงกว้างของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานขึ้นมาจากรากหญ้า และมีคุณสมบัติที่เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ชุมชนทางประวัติศาสตร์แห่งอื่น ๆ ในประเทศไทยได้
http://issuu.com/balckhamnuanchan/docs/samchuk
|
|
ไทยพลัดถิ่นทำมาหากิน ปฏิบัติความเป็นไทย ทำบุญเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำและสองด้านของภูเขา พวกเขาเป็นไทย หาใช่พม่า เพียงแต่รัฐไทยไม่ให้เขาเป็นไทย เพราะรัฐไทยหยุดยั้งความเป็นไทยไว้ที่พรมแดนธรรมชาติ...เอาพรมแดนธรรมชาติแบ่งชีวิต แบ่งไทย มิได้เอาพรมแดนความเป็นชาติและความเป็นไทยแบ่งความเป็นไทยและความเป็นชาติออกจากพม่า ชาติและไทยส่วนหนึ่งจึงกลายเป็นคนไทยพลัดถิ่น คนเถื่อนทั้งในพม่าและในไทย ชีวิตไทยพลัดถิ่นจึงเป็นชีวิตที่ไร้สิทธิ ไร้เสียง ไร้สรรพส
|
ปัจจุบันเรามีหนังสือ ภาพยนต์ สารคดีเกี่ยวกับพม่าไม่น้อย แต่เรื่องราวคนไทยพลัดถิ่นในดินแดนดังกล่าวแทบไม่มีใครกล่าวถึง จนเป็นที่มาของการเยือน 2 ตุลาคม 2549 เราเริ่มเดินทาง เรารู้ว่าพื้นที่ที่มีคนไทยพลัดถิ่นอาศัยอยู่ คือ มะลิวัลย์ ตลาดสุหรี ปกเปี้ยน เล็งย่า สิงขร และตะนาวศรี
จัดพิมพ์เมื่อ ตุลาคม 2549
|
 |
สึนามิเมื่อปีที่แล้ว พ.ศ.2547 เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ถล่มพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ทำให้ประชุาชนในพื้นที่ดังกล่าวประสบความสูญเสียชีวิตในครอบครัว ทรัพย์สิน เครื่องมือประกอบอาชีพ ฯลฯ กลุ่มคนที่ประสบปัญหามากที่สุดคือคนจนที่อยู่ในชุมชนผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะหมู่บ้านหรือชุมชนประมงที่อยู่บริเวณเกาะและชายฝั่งทะเลอันดามัน
จัดพิมพ์เมื่อ มีนาคม 2549
Link : Open book
|
|
หนังสือพลังร่วมสร้าง การจัดสวัสดิการชุมชนโดยเครือข่ายองค์กรชุมชน ทำให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของตนเอง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค และการจัดสวัสดิการ โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือโดยคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเซียและแปซิฟิกองค์การสหประชาชน(ESCAP) , สถาบันเอซียศึกษา ฯลฯ
จัดพิมพ์เมื่อ มีนาคม 2545
|
เกือบ 15 ปีแล้วที่สังคมสามจังหวัดชายแดนใต้มีวิกฤตการณ์ไม่สงบสุข บนท้องถนนเต็มไปด้วยด่านตรวจ การลาดตระเวนของทหาร มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นแทบทุกวันและนั่นเราจึงไม่เห็นแสงสว่างหรือความหวังว่าวิกฤตสังคมชายแดนใต้จะจบลงอย่างไร?
|