พัฒนาโมเดลการทำงานกับเครือข่ายของ กพร.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เสนอชื่อชุมชนบ้านน้ำเค็มเป็นชุมชนต้นแบบแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) เพื่อขอรับรางวัลเลิศรัฐ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

21 มี.ค.2566 เวลา 13.30 น.นายสงบ สะโตน รักษาราชการแทน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา นายไมตรี  จงไกรจักร ผจก.มูลนิธิชุมชนไท นายประยูร จงไกรจักร แกนนำทีมเตรียมความพร้อมชุมชนบ้านน้ำเค็ม นายวิรัตน์ โนนทอง ประธานทีมเตรียมความพร้อมชุมชนบ้านน้ำเค็ม และนายวันชัย  จิตต์เจริญ แกนนำทีมเตรียมความพร้อมชุมชนบ้านน้ำเค็ม ร่วมประชุม ผ่านระบบ (Zoom Cloud Meeting) เพื่อให้สัมภาษณ์การจัดทำต้นแบบแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เสนอชื่อชุมชนบ้านน้ำเค็ม เพื่อขอรับรางวัลเลิศรัฐ สาขารางวัลการบริหารราชการ แบบมีส่วนร่วม ประเภทเลื่องลือขยายผล ในโครงการชุมชนต้นแบบบ้านน้ำเค็ม : เครือข่ายเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชน จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)

ประเด็นแนวคิดในการทำงานหรือแรงจูงใจในการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายและกรม ปภ. คือการลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาเมื่อภัยมา ต้องให้ชุมชนและท้องถิ่นทำงานเอง โดยมีกรม ปภ. หรือราชการหนุนต่อเนื่อง

กลไกที่ทำงานร่วมกันและเกิดผล โดยต้องใช้กลไกที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่เน้นความสัมพันธ์ของเป้าหมาย ที่มีร่วมกันในการดำเนินการ ซึ่งกลไกที่เป็นทางการจะเป็นเครื่องมือที่เอื้อให้การทำงานประสานงานง่ายขึ้นและกว้างขึ้น ในขณะที่กลไกที่ไม่เป็นทางการจะทำงานในเชิงลึกเพื่อให้เกิดผลเชิงรูปธรรมที่เป็นจริงจับต้องได้ เพราะฉะนั้น ระบบราชการ ควรออกแบบให้มีตัวชีว้ดเชิงคุณภาพ มากว่าเชิงปริมาณ รวมทั้งระบบงบประมาณที่เอื้อให้การทำงานเชิงการเปลี่ยนแปลง ที่มากกว่ากิจกรรม และทำได้อย่างต่อเนื่องได้จนเกิดผล  

รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้แสดงความเห็นชัดเจนว่า “ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยมีชุมชน เครือข่าย ที่มี องค์กรประสานกลางอย่างมูลนิธิชุมชนไท ที่เชื่อมชุมชนและหน่วยงานให้ทำงานร่วมกันจนเกิดการขยายผลชุมชนเครือข่าย เกิดความยั่งยืนและขยายผลเป็นวงกว้างขนาดนี้ได้ โดยระบบราชการเราคงต้องทบทวนครั้งใหญ่”