แพทย์แผนไทยทางรอดสังคมไทย

“แพทย์แผนไทยทางรอดสังคมไทย” 
จัดโดย กรมแพทย์แผนไทย สภาผู้ชมฯไทยพีบีเอสภาคกลาง ในหัวข้อ ทางเลือก ทางรอด ระบบสุขภาพ “แพทย์แผนไทย ไม่ได้ทำเพื่อสู้กับแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ทำเพื่อไปด้วยกัน”

“แพทย์แผนไทยทางรอดสังคมไทย”
18 มี.ค.2566 ร่วมแลกเปลี่ยเรียนรู้ เกิดความรู้ใหม่ๆ ให้ไปต่อได้   จัดโดย กรมแพทย์แผนไทย สภาผู้ชมฯไทยพีบีเอสภาคกลาง ในหัวข้อ ทางเลือก ทางรอด ระบบสุขภาพ “แพทย์แผนไทย ไม่ได้ทำเพื่อสู้กับแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ทำเพื่อไปด้วยกัน” โดยมีนายแพทย์ยุทธนา วรรณโพธิ์กลาง นายแพทย์ สสจ. จ.อยุทธยา เป็นวิทยากรให้ความรู้

มูลนิธิชุมชนไท ทำงานกับคนจนเมือง คนไร้สิทธิสถานะบุคล กลุ่มชาวเล แต่ละเครือข่ายก็จะมีข้อจำกัดต่างกัน ออกไป เช่นไม่มีบัตร ก็จะมีข้อจำกัดการเข้าถึงระบบการบริการทางสุขภาพ  ความยากจน ก็เป็นความอดทนไม่ไปหาหมอ  ความห่างไกลตามเกาะแก่งต่างๆ ก็ไม่สามารถไปหาหมอได้ทัน และเป็นเหตุให้ไม่อยากไป 

ข้อคนพบท่ามกลางวิกฤติต่างๆเหล่านี้ ชาวเล คนจนเมือง คนไร้สถานะ  ก้าวข้ามมาได้ เช่นในภาวะภัยพิบัติ การเดินทางยากลำบากในภาวะโควิด ปิดเกาะ ปิดเมือง ยากจนซ้ำซ้อน เปราะบางซ้ำซ้อน ห่างไกล แต่เราชวนกันก้าวข้ามมาได้ ด้วยการใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก หมอพื้นบ้าน ที่อาจไม่ได้มีการรับรองจากระบบสุขภาพปกติ

ข้อค้นพบดังกล่าว ทำให้มูลนิธิชุมชนไทขอสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.สำนัก9 ในการขับเคลื่อนและยกระดับในการป้องกันส่งเสริมระบบสุขภาพ โดยจะต้องสร้างตัวอย่างจากชุมชนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น "โรงพยาบ้าน”  คือ บ้านที่มีคนเปราะบาง คนแก่ คนพิการผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องมีคนดูแล จะให้มีการออกแบบในการดูแล ครบวงจร โดยผู้ดูแลประจำบ้านนั้น ๆ

"ศูนย์สุขภาพทางร่วมชุมชน" จะมีทั้งข้อมูล ภูมิปัญญา หมอพื้นบ้าน ศูนย์สุขภาพชุมชน กายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย แพทย์แผนปัจจุบัน ที่ร่วมกันดูแลระบบสุขภาพชุมชน คนจนเมือง คนเปราะบาง ชาวเลห่างไกล คนไทยไร้บัตร(คนไทยพลัดถิ่น) ให้เข้าถึงระบบสุขภาพอย่างง่ายดาย เฉกเช่นเดียวกับการดูแลในภาวะวิกฤตต่าง ๆ ต่อไป