การจัดการภัยพิบัติเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดนครศรีธรรมราช

การจัดการภัยพิบัติเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 19 เม.ย.2566 พิธีเปิดโครงการ การบริหารจัดการภัยพิบัติเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้ดำเนินกิจกรรมการต่อเรือเพื่อชุมชนในการเตรียมรับมือน้ำท่วมในจังหวัดนครศรีธรรมราช  รุ่นที่1 วันที่ 19-21 เมษายน 2566 ณ ศูนย์ประสานงานการจัดการภัยพิบัติชุมชนฅนนคร ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 

นายสายัน กิจมโน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นประธานเปิดโครงการอบรม ที่ ศูนย์เครือข่าย ต.ท่าเสม็ด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยมีเข้าร่วม 90 คน จากพื้นที่เป้าหมาย 9 ตำบล และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ชื่นชมและสนับสนุนโครงการ “โครงการนี้ตอบโจทย์พื้นที่จริง เพราะผู้เข้าร่วมสามารถทำเรือเองได้ ซ่อมเรือเองได้ และเป็นเจ้าของเรือจริง ใช้งานได้ในพื้นที่จริง” เป็นเรือที่เกิดจากความร่วมมือและภูมิปัญญาของชุมชน

การดำเนินกิจกรรม โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการขับเคลื่อนการจัดการภัยพิบัติสู่นโยบายจังหวัดนครศรีฯ ร่วมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดนครศรีฯ โดยการสนับสนุนและเสริมความเข้มแข็งของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานภาคใต้ เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของชุมชนและเครือข่ายฯ

ความเป็นมาของโครงการ เมื่อปี 2560 เกิดภัยพิบัติใหญ่ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและและภาคใต้ พอช. ได้สนับสนุนให้เครือข่ายชุมชนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เริ่มต้นในการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ คือ สารตั้งต้น เกินคน เกิดข้อมูล และพื้นที่ปฏิบัติการนำร่อง

มูลนิธิชุมชนไท โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เข้ามาต่อยอด เชื่อมโยงและพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชน ในการทำแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ จนนำไปสู่การก่อเกิดเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติฅนนคร 
 โดยทีมคณะทำงานเครือข่าย ได้ใช้ความรู้ ทักษะ ทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนุน ในการพิสูจน์การมีอยู่ของเครือข่ายฯ เมื่อพื้นที่ไหนเกิดภัยพิบัติ 

ตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ปี 2560 และปี 2562 และเหตุภัยพิบัติใหญ่อย่างพายุปาบึก เป็นบททดสอบที่สำคัญ ว่าชุมชนสามารถรับมือภัยพิบัติได้อย่างปลอดภัย แม้ภัยพิบัติใหญ่ แต่ฅนนครรับมือได้อย่างทรนงและได้ช่วยเหลือสนับสนุนพื้นที่ต่าง ๆ ตามทฤษฎี “ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเอง ช่วยเขาให้อยู่ได้อย่างปลอดภัย และช่วยเขาให้เขาช่วยคนอื่นได้” ในวันนี้ฅนนครได้ช่วยเหลือผู้อื่นได้แล้ว

การขับเคลื่อนผ่านตัวตนของเครือข่าย โดยมีฐานที่มั่นที่ก่อเกิดจากสภาองค์กรชุมชน จนได้รับความร่วมมือของหน่วยงาน อปท. /ท้องที่ /สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการพัฒนาทักษะของอาสาสมัครภัยพิบัติชุมชน กว่า 100 คน ที่พร้อมเผชิญเหตุในพื้นที่

จากรูปธรรมสู่นโยบายภายใต้โครงการ การบริหารจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน กิจกรรมหลักเป็นการต่อเรือเพื่อชุมชนในการเตรียมรับมือน้ำท่วมในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยงบยุทธศาสตร์จังหวัด เสริมศักยภาพให้ชุมชนต่อเรือ โดยชุมชน รวม 50 ลำ และจากรูปธรรมเล็ก ๆ ในพื้นที่นี้ จะสามารถขยายไปสู่นโยบายการจัดการภัยพิบัติชุมชน นโยบายส่งเสริมชุมชน และสนับสนุนให้ชุมชนจัดการภัยได้ด้วยตัวเองได้

--------------------