ลงนามปฏิญญาอ่าวลันตา ว่าด้วยการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

มูลนิธิชุมชนไท ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และชุมชนชาวเลจังหวัดกระบี่ โดยสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อจัดทำปฏิญญาอ่าวลันตา ว่าด้วยการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน Blue & Green Island

25 เม.ย.2566 มูลนิธิชุมชนไท ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และชุมชนชาวเลจังหวัดกระบี่ โดยสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ได้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อจัดทำปฏิญญาอ่าวลันตา ว่าด้วยการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน Blue & Green Island

และในวันเดียวกันในช่วงเช้า สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิชุมชนไท เครือข่ายชาวเลอันดามัน ได้จัดประชุมศึกษาแลกเปลี่ยนการจัดการขยะมูลฝอย/ขยะพลาสติก บ่อฝังกลบขยะ พื้นที่เกาะลันตา ร่วมกับหน่วยงาน และหลังจากนั้นทุกหน่วยงานได้ร่วมลงนามปฏิญญาอ่าวลันตาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเสวนาลันตายั่งยืน Blue & Green Island โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมลงนามปฏิญญาในวันนี้ ดังนี้

• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
• อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
• อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือผู้แทน
• อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือผู้แทน
• อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน
• นายอำเภอเกาะลันตา
• ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดกระบี่
• ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
• นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 องค์กรในอำเภอลันตา
• องค์กรชุมชนและชาวประมงพื้นบ้าน
• องค์กรภาคธุรกิจเอกชน
• องค์กรพัฒนาเอกชน
• มูลนิธิชุมชนไท

ประกาศ
“ปฏิญญาอ่าวลันตา การขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนBlue & Green Island”
ฉบับนี้ เพื่อเป็นหมุดหมายและเจตจำนงร่วมกัน ดังนี้

1.การประมงยั่งยืน ไม่ทำการประมงด้วยเครื่องมือประมงที่จับสัตว์น้ำวัยอ่อน ห้ามทำการประมงด้วยอวนทับตลิ่งหรืออวนปิดอ่าว อวนลาก อวนรุน และเครื่องมือคราดหอยประกอบเรือยนต์ รวมทั้งการประมงที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตรายต่อพะยูน โลมาและเต่าทะเล ร่วมกันเพาะพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล เช่น ธนาคารปูม้า การสร้างข้อตกลงระหว่างชุมชนกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ในการอนุรักษ์และทำประมงในเขตอุท ยานแห่งชาติฯ อย่างยั่งยืน การปรับปรุงเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดกระบี่ตามกฎหมายประมงให้ครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัยของพะยูน และให้แนวเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดกระบี่ต่อเนื่องกับเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดตรัง

2.การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การอนุรักษ์พะยูน โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายของจังหวัดตรัง การกำหนดเส้นทางเดินเรือและความเร็วเรือในแหล่งอาศัยของพะยูน การจัดทำพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและข้อตกลงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างยั่งยืน เช่น แหล่งหญ้าทะเล ป่าชายเลน ปะการังและพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวทางทะเล เป็นต้น การจัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ สร้างบ้านปลา การจัดทำข้อตกลงว่าด้วยการเดินเรือขนส่งสินค้าทางทะเล ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทะเล การออกข้อกำหนดควบคุมการก่อสร้างบริเวณชายฝั่ง ไม่ให้เกิดตะกอนดินไหลลงทะเล การจัดการน้าเสียจากชุมชน สถานประกอบการท่องเที่ยวโดยให้มีการบำ บัด ปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนปล่อยลงลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ การควบคุมปริมาณบ่อเลี้ยงก้งุ ไม่ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น สำหรับบ่อเลี้ยงปัจจุบันต้องมีระบบบำบัดน้ำก่อนปล่อย
ลงทะเล และการจัดทำฝายชะลอน้าเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

3.การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจเกื้อกูล การส่งเสริมชุมชนทำเกษตรอินทรีย์ การลดการใช้สารเคมีในการเกษตร รณรงค์ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า การผลิตอาหารปลอดภัยเช่น ส่งเสริมการเกษตรวิถีชุมชน การทำนา ปลูกผักสวนครัว อนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น การเพิ่มมูลค่า และคุณค่าด้านการเกษตรของชุมชน เป็นต้น

4.การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ส่งเสริมการฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยวและประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เช่น สะพานศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน การทำการประมงด้วยลาดหิน การท่องเที่ยวปลอดโฟมและพลาสติก การท่องเที่ยวที่ไม่ก่อผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเช่น การท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงวิถีชาติพันธุ์ เป็นต้น

5.การเชื่อมโยงการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวกับชุมชนในการพัฒนาอาหารทะเลคุณภาพ การท่องเที่ยวชุมชน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่คำนึงถึงระบบนิเวศและเป็นไปตามข้อกำหนดของชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเชื่อมโยงเครือข่ายและการจัดตั้งองค์กรชุมชน การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและวิสาหกิจชุมชน

6.การลดภัยคุกคามจากไมโครพลาสติกและขยะพลาสติกในทะเล โดยเลิกใช้โฟมบรรจุอาหารที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง จัดระบบแยกขยะ เพื่อให้สามารถกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำเข้าสู่ระบบรีไซเคิลในสำ นักงานราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถนิ่ สถานศึกษา สถานที่ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ภาคการท่องเที่ยว และชุมชน การส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ อาทิ กำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน เป็นต้น การส่งเสริมให้ชาวประมงพื้นบ้านเก็บคืนเครื่องมือประมงที่ทำจากพลาสติก เพื่อนำมาใช้ซ้ำหรือผลิตเป็นสินค้าใหม่หรือ
รีไซเคิล เปลี่ยนการใช้โฟมในเครื่องมือประมงเป็นวัสดุที่มีความคงทน เช่น เปลี่ยนวัสดุทำทุ่นจากโฟมเป็นวัสดุทดแทนที่มีความคงทนกว่า เป็นต้น

7.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากฟอลซิลไปสู่พลังงานสะอาด เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน อาทิ การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ปรับปรุงอาคารสถานที่ให้มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ในเวลากลางวันในสำนักงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการท่องเที่ยว เป็นต้น

8.การพัฒนาทางสังคมและคุณภาพชีวิต การสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประสบปัญหาทางสังคมและประชาชนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาระบอบประชาธิปไตยฐานรากเพื่อสร้างสังคมที่สมดุลและเป็นธรรม เพิ่มขีดความสามารถและความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองของคนในชุมชนและสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ สร้างการพัฒนาทางสังคมแบบองค์รวม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและภาคประชาสังคม การฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล โดยใช้การพัฒนาความมั่นคงในที่ดินและที่อยู่อาศัยเป็นแกนกลางและการพัฒนาระบบสวัสดิการครบวงจรเพื่อชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

9.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความตระหนักในคุณค่า ความสำคัญของประวัติศาสตร์ วิถีวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างการเรียนรู้ เพื่อตั้งรับปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบในทุกมิติตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน

เพื่อให้การดำเนินการตามปฏิญญานี้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ร่วมกัน อำเภอเกาะลันตาจะจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งมีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่เป็นกลไกกลางในการปฏิญญานี้ไปสู่การปฏิบัติและการพัฒนาลันตาที่ยั่งยืน Blue & Green Island
-----------------------------------------