"หยุดรื้อบาฆัด" มีหนังสือมาให้รื้อถอนบาฆั๊ดหรือเพิงพักของชาวเลเพื่อการดำรงวิถีชีวิต ที่อยู่ตามจุดต่าง ๆ ริมชายหาดโขดหิน เพื่อหลบมรสุม พายุ ฯลฯ

"หยุดรื้อบาฆัด" มีหนังสือมาให้รื้อถอนบาฆั๊ดหรือเพิงพักของชาวเลเพื่อการดำรงวิถีชีวิต ที่อยู่ตามจุดต่าง ๆ ริมชายหาดโขดหิน เพื่อหลบมรสุม พายุ ฯลฯ และยังเป็นพื้นที่ที่ชาวเลเข้าไปใช้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ

"หยุดรื้อบาฆัด" 

หลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี และการประกาศเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ ได้ส่งผลกระทบต่อการทำมาหากินแบบดั้งเดิมพึ่งพาตัวเองของชาวเล ทำให้ไม่มีสิทธิเข้าไปใช้พื้นที่ในการทำมาหากินดั้งเดิมได้ รวมถึงพื้นที่ “บากั๊ต”  หรือพื้นที่เพิงพักระหว่างการทำมาหากินทางทะเล โดยที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฯ มาบอกกล่าวให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่สร้างเพิงพัก หรือ “บากั๊ต” สร้างความสะเทือนใจต่อชาวเลกลุ่มดังกล่าวเป็นอย่างมาก เพราะหน่วยงานรัฐกำลังจะทำลายวิถีชีวิต และบากั๊ต ยังเป็นพื้นที่ที่ชาวเลเข้าไปใช้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ

วิถีชีวิตชาวเลอุรักลาโวย เกาะจำ จังหวัดกระบี่
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะจำมีอาชีพ ทำการประมง ค้าขาย รับจ้างทั่วไป และอาชีพการท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังเกาะจำหลายคนกลายเป็นแขกประจำเพราะชอบบรรยากาศและผู้คน   รวมทั้งไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การท่องเที่ยวแบบที่ทำลายธรรมชาติและวัฒนธรรม

การทำประมงพื้นบ้านคือ อาชีพหลักเลี้ยงชีพของพวกเขา แต่การออกจากเกาะจำ ออกไปหาสัตว์น้ำ ต้องใช้เวลามาก เดินทางไกล การทำประมงของชาวเลกลุ่มนี้ จึงจะสร้างที่พักชั่วคราว เรียกว่า "บาฆั๊ด " สำหรับพักค้าง หลบคลื่นลมและกระแสน้ำและย้ายไปตามทิศทางลมมรสุม เป็นแบบนี้มาหลายช่วงอายุคน

จากเหตุการณ์โควิด-19 ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจงานบริการได้หยุดลง ทำให้มีคนที่เป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการต่าง ๆ พากันปิดบริการทำให้ไม่มีการจ้างงานเกิดขึ้น มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก ชาวเลเกาะจำก็มีผลกระทบโดยตรงเนื่องจาก มีอาชีพประมงเป็นหลัก ทำให้ราคาของสัตว์น้ำต่ำลงมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีน้อยแต่ค่าใช้จ่ายในการไปหาสัตว์ทะเลยังมีมูลค่าเหมือนเดิม


จากสถานการณ์ดังกล่าว ชาวเลและเครือข่ายภาคีต่าง ๆ ได้ช่วยกันสื่อสารรณรงค์ขอให้หน่วยงานรัฐหยุดรื้อบากั๊ต ที่เป็นพื้นที่ภูมิปัญญาของชาวเล โดยหน่วยงานควรจะศึกษาข้อมูลความรู้ภูมิปัญญาต่าง ๆ จากปราชญ์แห่งท้องทะเลถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายในท้องทะเลอันดามัน เช่น โขดหิน อ่าว ร่องมรสุมแต่ละฤดูกาล เพื่อทำเป็นเอกสารเผยแพร่ความรู้ให้กับนักท่องเที่ยว ดีกว่ามาทำลายพื้นที่ทางภูมิปัญญาของชาวเล และบากั๊ตที่หน่วยงานของรัฐกำลังจะไล่รื้อนั้น ที่ได้เป็นพื้นที่ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติมาแล้วหลายครั้ง เช่น เรื่ออับปาง เรือเสีย เรือล่ม โดยชาวเลได้นำเรือออกจากบากั๊ตเข้าช่วยเหลือ เป็นต้น 

ข้อเสนอแนวทางของชาวเล
หลังจากมีประกาศอุทยานหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ให้รื้อถอนบาฆัคทั้งหมด เพราะตรวจสอบไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตอุทยานฯ แน่นอนว่าชาวเลกลุ่มนี้กังวล จึงขอให้อุทยานแห่งชาติได้ทบทวนประกาศรื้อย้ายบากั๊ตอีกครั้ง และที่สำคัญเครือข่ายชาวเลอันดามันเห็นว่าจะกระทบกับวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และขัดกับมติ ครม. เรื่องการส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2553 

ข้อสรุปต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐ
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราฯ สั่งระงับประกาศรื้อถอนที่พักชั่วคราวออกไปก่อน เนื่องจากเพิ่งย้ายเข้ามารับตำแหน่งใหม่ และพร้อมที่จะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งขณะเดียวกัน ตัวแทนชาวเลได้ขอให้ตั้งคณะกรรมการ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6612127
https://www.facebook.com/keetakal99/posts/2931233927115034
https://www.facebook.com/keetakal99/posts/2962754330629660
https://www.facebook.com/sgannews/posts/1223298894764009
https://www.youtube.com/watch?v=Ss8kdRlGCQw